กล่องข้อความ:

ลักษณะพิเศษของพืช : อุยานการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติฯ
ชื่ออื่น : ยอ มะตาเสือ ขี้เต่า แยใหญ่
ลักษณะทั่วไป :ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
ต้น
: เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก เปลือกต้นเรียบผิวของลำต้น
เป็นสีน้ำตาลเทาเกลี้ยงแขนงมักเป็นสี่เหลี่ยม
ใบ : ใบเดี่ยวรูปมนรี ออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นมันสีเขียว
ขนาดใบกว้างประมาณ 6-17 ซม. ยาวประมาณ 15-30 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบมีรูปร่างและขนาดต่างๆ
ก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 ซม.
ดอก : ออกรวมกันเป็นช่อกลม ช่อดอกยาว 3-4 ซม. ดอกมีขนาดเล็กสีขาวโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ
ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 4.5-5 มม.กลีบด้านนอกเรียบ แต่ด้านในมีขนหนาแน่นเฉพาะส่วนบน
ผล : เป็นรูปลักษณะค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอกมน ผิวเป็นตุ่มๆ รอบๆ ผล ผลอ่อนสีเขียวพอแก่จัดมีสีขาวอมเขียว
หรือออกเหลืองและมีกลิ่นเหม็น ผลมีขนาด 3-10 ซม. ภายในเมล็ด มีสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก
ประโยชน์
       ราก เป็นยาระบาย แก้กระษัย  ต้นใช้ผสมยารักษารักษาโรค
       ใบ ทาแก้โรคเก๊าท์ ใบสดย่างไฟหรือปรุงยาประคบแก้บวมแก้อักเสบ ต้มน้ำแก้ไข บำรุงธาตุ
       ดอก ใช้ผสมยา รักษาโรค
       ผล ต้มน้ำแก้คลื่นเหียนอาเจียนอมแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวมต้มดื่มขับ ประจำเดือน ขับเลือดลม ชับลมในลำไส้  

ลักษณะวิสัย
ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ใบ
ดอก

7-50100-001-120

ชื่อพื้นเมือง

:  มะตาเสือ   ยอบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Morinda citrifolia L.

ชื่อวงศ์

:  RUBIACEAE

ชื่อสามัญ

:  Noni

ประโยชน์

:รากเป็นยาระบาย แก้กระษัย  ต้นใช้ผสมยารักษารักษาโรค
ใบทาแก้โรคเก๊าท์ ใบสดย่างไฟหรือปรุงยาประคบแก้บวม
แก้อักเสบ ต้มน้ำแก้ไข บำรุงธาตุ ดอกใช้ผสมยา รักษาโรค
ผล ต้มน้ำแก้คลื่นเหียนอาเจียนอมแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม
ต้มดื่มขับ ประจำเดือน ขับเลือดลม ชับลมในลำไส้  

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    มะตาเสือ   ยอบ้าน    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-120